กรุณารอสักครู่่
ติดต่อสอบถาม โทร.1491 หรือ 02-908-8888
Advice IT Infinite Public Company Limited

[Notebook Scoop] AMD Notebook กลับมาแล้ว!!! เจาะลึกชิปประมวลผลสถาปัตยกรรม Ryzen สำหรับโน๊ตบุ๊ค

หลังจากที่ประสบความสำเร็จจากการสั่นบัลลังก์ของทาง Intel ด้วยการเปิดตัวหน่วยประมวลผล Ryzen สำหรับ Desktop ล่าสุดนั้นดูเหมือนว่าทาง AMD จะสานต่อความสำเร็จด้วยการเปิดตัวหน้วยประมวลผลสถาปัตยกรรม Raven Ridge หรือ Ryzen สำหรับโน๊ตบุ๊คออกตามมาติดๆ เพื่อให้ทาง Intel นั้นอยู่ไม่สุข มาดูกันดีกว่าครับว่า Raven Ridge นั้นจะสามารถสั่นคลอน Intel ได้มากขนาดไหน

สำหรับหน่วยประมวลผลสถาปัตยกรรม Raven Ridge นั้นจะมีอััตราการคายพลังงานอยู่ที่ 15 W ซึ่ง APU รุ่นนี้นั้นจะมีชื่อเรียกทางการตลาดว่า Ryzen 5 2500U และ Ryzen 7 2700U ซึ่งทาง AMD นั้นเตรียมเอามาชนกับ Core i5-8250U และ Core i7-8550U ของทาง Intel โดยเฉพาะครับ สำหรับสเปคแบบเต็มของทั้ง 2 หน่วยประมวลผลดังกล่าวนี้จะเป็นดังภาพต่อไปนี้ครับ

อ้างอิงจากทาง AMD นั้นจะพบว่าส่วน Core ของหน่วยประมวลผลสถาปัตยกรรม Raven Ridge นั้นจะเป็นสถาปัตยกรรมแบบเดียวกันกับตัวหน่วยประมวลผลสำหรับ Desktop ที่มีจำนวนแกนการประมวลผลอยู่ที่ 8 แกนครับ แถมด้วยการมาพร้อมกับฟีเจอร์ใหม่อย่าง Precision Boost 2 และ Mobile XFR นั้นเลยทำให้หน่วยประมวลผลสำหรับโน๊ตบุ๊คมีอัตราการคายความร้อนอยู่ที่ 15 W เท่านั้นครับ

ในการทดสอบ Cinebench R15 ของ CPU แบบ Multi 64Bit นั้นจะเห็นได้ครับว่าหน่วยประมวลผลของทางฝั่ง AMD สามารถทำคะแนนได้ดีกว่าของทาง Intel ทั้งรุ่น Ryzen 5 2500U และ Ryzen 7 2700U ซึ่งจะเห็นได้ชัดเป็นพิเศษในส่วนของรุ่น Ryzen 7 2700U ส่วน Ryzen 5 2500U นั้นก็สามารถทำคะแนนได้ดีกว่าแต่ก็ไม่ได้แตกต่างกันมากเท่าไรนักครับ

กลับกันแล้วในส่วนของการทดสอบแบบ Single core นั้นพบว่าหน่วยประมวลผลทั้ง 2 รุ่นของทาง AMD ไม่สามารถที่จะเอาชนะหน่วยประมวลผลของทาง Intel ได้เลยครับ ที่ผลการทดสอบเป็นแบบนี้นั้นเนื่องจากหน่วยประมวลผลของทาง Intel มีความเร็วสัญญาณนาฬิกาที่ Turbo clock มากกว่าของทาง AMD ซึ่งถือว่าไม่ใช่เรื่องแปลกแต่อย่างใดครับ

สำหรับการทดสอบอื่นๆ ที่ทาง AMD ยกมาให้เราได้เห็นกันนั้นก็จะเป็นการทดสอบทางด้านประสิทธิภาพการใช้งานทั่วไปอย่างเช่นความเร็วในการเปิดโปรแกรมหรือจะเป็นการทดสอบต่างๆ ดังรูปที่ได้แสดงไปทางด้านบนซึ่งบอกได้เลยครับน่าสนใจเป็นอย่างมากเพราะประสมิธิภาพนั้นไม่เร็วกว่าหน่วยประมวลผลของทาง Intel ก็จะมีประสิทธิภาพต่ำกว่าเพียงแค่เล็กน้อยเท่านั้น แต่ส่วนสำคัญที่นักเล่นเกมทั้งหลายน่าจะอยากทราบมากกว่าก็คือประสิทธิภาพของชิปกราฟิกแบบฝังในหน่วยประมวลผลที่ใช้ชิปสถาปัตกรรม Vega ครับ

สำหรับชิปกราฟิกแบบฝังนั้นไม่เหมอืนกับหน่วยประมวลผล Zen ก่อนหน้านี้ที่ออกมาซึ่งนั่นก็คือทาง AMD ได้ใช้ชิปกราฟิกสถาปัตยกรรม Vega ที่พัฒนาขึ้นบน 5th generation Graphics Core Next architecture (GCN 5) โดยจะมาพร้อมกับ CU จะนวนสูงสุดที่ 10 core หรือคิดเป็น 640 shaders โดยในรุ่น Ryzen 5 2500U จะมาพร้อมกับ 8 CU ส่วน Ryzen 7 2700U จะมาพร้อมกับ 10 CU ความใหม่ของ Vega นั้นจะมีดังต่อไปนี้ครับ

  • two FP15 commands can be executed simultaneously in the FP32 ALU
  • improved IPC performance (Instructions Per Clock)
  • new programmable Geometry Pipeline (2x Peak Throughput per Clock)
  • Primitive Shader (new Shader Stage to discard hidden or unnecessary polygons)
  • optimized for higher clocks
  • High-Bandwidth Cache Controller (improved simultaneous utilization of all memory sources from HBM2, NAND, RAM, and
  • SSD for large data sets)
  • Tiled Rasterization (Draw Stream Binning Rasterizer)
  • Direct3d Feature Level 12_1 (compared to 12_0 at Polaris)

จะเห็นได้ว่าจากผลการทดสอบบน 3DMark Time Spy นั้น Vega ที่ฝังอยู่บนหน่วยประมวลผลรุ่นใหม่มีประสิทธิภาพที่สูงมากๆ โดยสามารถที่จะทำคะแนนได้มากกว่าเครื่องที่มาพร้อมกับชิปกราฟิกแบบแยกอย่าง NVIDIA GeForce 940MX ได้อย่างชัดเจน ส่วนการเล่นเกมออนไลน์นั้นเรียกได้ว่าสบายหายห่วงเลยหล่ะครับ

เรื่องการจัดการกับไฟล์มีเดียแบบวีดีโอต่างๆ นั้นเรียกได้รองรับกันมาอย่างเต็มที่(แต่ก็ไม่ได้แตกต่างอะไรเท่าไรนักกับรุ่นพี่ของมัน) โดยในส่วนของการถอดรหัสนั้น APU รองรับการแสดงผลที่ความละเอียดระดับ 4K จากทาง Netflix ที่มาพร้อมกับ HDR ได้อย่างสบายๆ นอกไปจากนั้นแล้วยังรองรับ Playready และ HDR, FreeSync 2 ตามด้วยรองรับหน้าจอระดับ 4K/60 Hz ครับ

สำหรับเรื่องของประสิทธิภาพการใช้พลังงานนั้นทาง AMD ได้ใช้การออกแบบคล้ายๆ กับทาง Intel ซึ่งนั่นก็คือบนตัว APU นั้นจะมีส่วนที่เป็นหน่วยประมวลผลและชิปกราฟิกแบบฝังแยกกันต่างหากทำให้สามารถที่จะใช้พลังงานได้แยกจากกันอย่างเป็นอิสระโดยใช้การส่งพลังงานเข้าทั้ง 2 ส่วนแบบ Unified VDD Power Rail(อยู่ในรูปแบบของการแชร์พลังงานกัน) ทำให้สามารถที่จะลดกระแสไฟฟ้าเข้าไปมาถึง 36% เมื่อเทียบกับหน่วยประมวลผลแบบอื่นที่มีชิปกราฟิกอยู่ร่วมกับตัวหน่วยประมวลผลครับ

นอกไปจากนั้นยังสามารถที่จะทำให้ตัวส่วนหน่วยประมวลผลและชิปกราฟิกแบบฟังสามารถได้รับกระแสไฟได้มากที่สุดเพื่อดึงประสิทธิภาพการทำงานออกมาได้มากที่สุดในเวลาเดียวกันครับ แถมยังมีประโยชน์เป็นอย่างมากเนื่องจากโดยปกติแล้วนั้น CPU และ GPU มักจะไม่ค่อยใช้งานเต็มที่ในเวลาเดียวกันครับ

ด้วยลักษณะการใช้พลังงานของตัว APU ดังที่กล่าวไว้ในข้างต้นนั้นทำให้เครื่องโน๊ตบุ๊คที่มาพร้อมกับ APU รุ่นใหม่ของทาง AMD นี้มีอายุการใช้งานแบตเตอรี่มากขึ้นสูงสุดถึง 2 เท่าตัว อย่างไรก็ตามแล้วก็ต้องดูรูปแบบของการใช้งานของผู้ใช้ด้วยเช่นเดียวกันตัวอย่างเช่นเมื่อรัน MobileMark 14 บนเครื่องต้นแบบนั้นพบว่าสามารถใช้งานได้ยาวนานกว่าเครื่องที่มาพร้อมกับ APU รุ่นเก่าถึง 29%

ถึงจะมีประสิทธิภาพมากเพียงใดก็ตามแต่สิ่งหนึ่งที่ทาง AMD ต้องทำงานอย่างหนักเพื่อที่จะสามารถทำให้การใช้งานหน่วยประมวลสำหรับโน๊ตบุ๊คของทาง AMD ดีขึ้นก็คือการเจรจากับผู้ผลิตที่โดยส่วนใหญ่แล้วที่ผ่านมานั้นมักจะใช้หน่วยประมวลผลของทาง AMD บนเครื่องที่มีราคาถูกซึ่งสเปคในส่วนอื่นๆ ไม่ค่อยจะดีมากเท่าไรนึก นอกไปจากนั้นแล้วสิ่งที่สำคัญมากที่สุดก็คือเรื่องของการพัฒนา Driver ให้ออกมาดีครับ

ปิดท้ายด้วยเครื่องโน๊ตบุ๊คที่จะมาพร้อมกับ APU รุ่นใหม่ของทาง AMD นั้นตอนนี้ได้มีการประกาศออกมาแล้ว 3 รุ่นจากทาง Lenovo, HP และ Acer ซึ่งเราคงจะต้องคอยดูกันต่อไปหล่ะครับว่างานนี้นั้นทาง AMD จะสามารถแย่งตลาดหน่วยประมวลผลสำหรับโน๊ตบุ๊คจากทาง Intel ได้มากน้อยแค่ไหน

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : https://notebookspec.com