กรุณารอสักครู่่
ติดต่อสอบถาม โทร.1491 หรือ 02-908-8888
Advice IT Infinite Public Company Limited

AMD Ryzen 2 processors #2 - Ryzen 7 2700 vs. Ryzen 5 2600

ได้เปิดตัวกันไปแล้วสำหรับ AMD Ryzen 2nd Generation ที่พื้นฐานนั้นก็ไม่ได้มีความแตกต่างจาก Ryzen 1st Generation มากนัก เพราะเป็นการต่อยอดพื้นฐานสถาปัตยกรรม Zen มาสู่ Zen+ ที่เมื่อคราวที่แล้วนั้นเราได้รีวิวไปสองโมเดลกับ Ryzen 7 2700X และ Ryzen 5 2600X ซึ่งวันนี้่จะเป็นรอบที่สองกับการีวิว AMD Ryzen 2nd Generation ซึ่งจะเป็นอีกสองโมเดลที่เหลือกับ Ryzen 7 2700 และ Ryzen 5 2600 ซึ่งเพื่อเป็นการไม่เสียเวลานั้น ผมเลยจับ Ryzen 7 2700 และ Ryzen 5 2600 มาทดสอบเปรียบเทียบกันในคราวเดียวกันเลย
 

MODEL

CORES

THREADS

CLOCK SPEED MAX BOOST/ BASE (GHZ)

Smart Prefetch Cache

TDP

COOLER

SEP (THB)

AVAILABILITY

Ryzen™ 7 2700X

8

16

4.3/3.7

20MB

105W

Wraith Prism (LED)

12,500

Apr 19

Ryzen™ 7 2700

8

16

4.1/3.2

20MB

65W

Wraith Spire (LED)

11,500

Apr 19

Ryzen™ 5 2600X

6

12

4.2/3.6

19MB

95W

Wraith Spire

8,390

Apr 19

Ryzen™ 5 2600

6

12

3.9/3.4

19MB

65W

Wraith Stealth

7,490

Apr 19

 



AMD 2nd Gen Ryzen ที่จะถูกออกแบบให้ใช้งานได้ดีที่สุดกับเมนบอร์ดชิพเซ็ต 400 Series ที่จะมีฟีเจอร์ใหม่ๆเพิ่มเข้ามาในการใช้งาน


ในช่วงแรกของการเปิดตัว Ryzen 2nd Generation จะมาพร้อมกันถึง 4 โมเดลกับ Ryzen 7 2700x ,Ryzen 7 2700 ,Ryzen 5 2600x และ Ryzen 5 2600 แต่ละโมเดลประสิทธิภาพความแรงก็ตามเงินที่จ่ายไป แต่ Ryzen 7 2700x จะม่ีค่า TDP ที่ 105 Watt ส่วน Ryzen 7 2700 กับ Ryzen 5 2600x TDP จะอยู่ที่ 95 Watt และ Ryzen 5 2600 TDP จะอยู่ที่ 65 Watt


ตรางเปรียบเทียบการทำตลาดของ Ryzen 2nd Generation เทียบกับ Ryzen 1st Generation


ใครซื้อ Ryzen 2nd Generation แล้วใช้งานร่วมกับเมนบอร์ด 300 Series ให้สังเกตุโลโก้ที่หน้ากล่อง ว่ามันรองรับกับ Ryzen 2nd Generation หรือไม่ ถ้าจะเป็นการอัพเกรด Ryzen 2nd Generation จาก Ryzen 1st Generation ก็เข้าไปตรวจสอบกับทางผู้ผลิตว่ามีไบออสออกมาใหม่ที่รองรับ Ryzen 2nd Generation แล้วหรือยัง ก็จัดการอัพเดทไบออสใหม่แล้วออกไปซื้อ Ryzen 2nd Generation มาใส่ได้

 

Package & Bundled



แพคเกจของ AMD Ryzen 2000 Series โดยภาพรวมจะเป็นธีมเดียวกับ AMD Ryzen 1000 Series ถ้าไม่มีฉลาก ก็บอกโมเดลก็จะไม่ทราบถึงความแตกต่างได้


CPU Detail

รูปแบบของตัวหน่วยประมวลผล ที่จะเป็น AMD แบบดั่งเดิมมาตั้งแต่ในยุค AMD Athlon 64 ก็เรียกได้ว่าเป็นสิบปีก็ยังคงเดิม เพิ่มเติมมาคือจำนวนขาตามแต่ละซ็อกเก็ต ทั้ง Ryzen 7 2700 และ Ryzen 5 2600 ที่จะเป็นกระดองครอบคอร์ข้างใน พร้อมกับการยิงเลเซอร์รายละเอียดต่างๆมาตามแบบฉบับในยุคของ AMD Ryzen


แพ็คเกจ AM4 ที่รองรับการใช้งานร่วมกับเมนบอร์ด 300 Series และ 400 Series ที่แน่นนอว่าการใช้งานร่วมกับเมนบอร์ด 300 Series ไบออสนั้นต้องรองรับกับ AMD Ryzen 2 ด้วยนะครับ


Warith Spire Detail - Ryzen 7 2700

ชุดระบายความร้อนคู่ตัว Ryzen 7 2700 ที่จะเรียกว่า WRAITH SPIRE ที่มาพร้อมกับวงแหวนไฟ LED RGB


ถ้ามองหน้าตาของ WRAITH SPIRE ที่จะเป็นทรงกลม การยึดแบบร้อยน็อตเข้ากับแผ่นรองหลัง ที่เรียกได้ว่าแน่นหนาแน่นอน


การระบายความร้อนหลักๆของ WRAITH SPIRE จะเป็นฮีทซิงค์อลูมิเนียมมาตรฐาน ทรงสูง


จุดเชื่อมต่อสาย LED RGB ลงเมนบอร์ด เพื่อใช้ฟีเจอร์ควบคุมไฟ LED RGB ร่วมกับเมนบอร์ดที่รองรับฟีเจอร์ LED RGB


พัดลมระบายความร้อนขนาด 9 CM ที่เรียกได้ว่าเย็นพอสมควร แต่เสียงรบกวนเงียบใช้ได้


การเชื่อมต่อไฟเลี้ยงพัดลมจะเป็น PWM 4 Pin พร้อมกับสาย RGB Header ลงเมนบอร์ด


ฐานหน้าสัมผัสเป็นทองแดงที่อัดเข้าไปในฮีทซิงค์อลูมิเนียม ที่หน้าสัมผัสถือว่าใหญ่รองรับกับขนาดกระดองของ AM4 ได้เป็นอย่างดี


Wraith Stealth Detail - Ryzen 5 2600

ชุดระบายความร้อนคู่ตัว Ryzen 5 2600 น้องเล็กสุดในตระกูล ที่จะเรียกว่า WRAITH STEALTH ขนาดกระทัดรัด เสียงรบกวนขณะการทำงานที่ต่ำ


ชุดระบายความร้อนคู่ตัว Ryzen 5 2600 ที่จะเรียกว่า WRAITH STEALTH ที่รูปแบบการยึดจะใช้น็อตยึดล็อกกับแผ่นรองหลังเมนบอร์ด


ความหนาในส่วนของฮีทซิงค์ ที่บอกเลยว่ากระทัดรัด ใส่เคสขนาด 1.5U สบายๆ


พัดลมระบายความร้อนขนาด 9 CM ที่เสียงรบกวนต่ำสมกับชื่อ WRAITH STEALTH


การเชื่อมต่อพัดลมจะเป็นแบบ PWM 4 Pin

ฐานหน้าสัมผัสเป็นซิงค์อลูมิเนียม ที่หน้าสัมผัสถือว่าใหญ่รองรับกับขนาดกระดองของ AM4 ได้เป็นอย่างดี 

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : https://www.overclockzone.com

สามารถติดตามข้อมูลและรายละเอียดได้ที่ : https://www.advice.co.th