กรุณารอสักครู่่
ติดต่อสอบถาม โทร.1491 หรือ 02-908-8888
Advice IT Infinite Public Company Limited

การประยุกต์ใช้ AI PC ในอุตสาหกรรมต่างๆ

"ผู้ที่อยู่รอดไม่ใช่ผู้ที่แข็งแกร่งที่สุดหรือฉลาดที่สุด แต่คือผู้ที่ปรับตัวตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงได้ดีที่สุดต่างหาก"
ชาร์ล ดาวิน (Charles Darwin) -

ปัจจุบันเทคโนโลยี AI เข้ามามีส่วนช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและลดขั้นตอนการทำงานได้หลากหลายอุตสาหกรรม ทั้งด้านระบบ การจัดการ หรือแม้กระทั้งความคิดสร้างสรรค์ เราคงต้องยอมรับว่า AI เสมือนจุดเปลี่ยนก้าวสำคัญของหน้าประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ ใกล้เคียงกับการค้นพบอื่นๆในอดีตมากมาย ดังนั้น สิ่งที่เราควรเริ่มต้นคือการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงที่กำลังจะเกิดขึ้นนี้ไม่ใช่หลีกเลี่ยงและมองว่ามันยังห่างไกลกันเราเกินไป เพราะเมื่อถึงจุดที่เราต้องปรับตัวการเตรียมพร้อมเป็นสิ่งสำคัญ ดังนั้นวันนี้เรามาดูกันดีกว่าว่าในปัจจุบัน AI มีผลต่ออุตสาหกรรมต่างๆ อย่างไรบ้าง

1.อุตสาหกรรมทางการแพทย์และเวชภัณฑ์
ด้านการวินิจฉัยโรค : การใช้ AI Algorithms เข้าผนวกร่วมกับคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ในการวิเคราะห์ภาพผลลัพธ์จากการตรวจคนไข้เพื่อวินิจฉัยอาการทางการแพทย์อย่างละเอียด เช่น ภาพ CT Scan หรือ MRI โดยการป้อนข้อมูลที่ AI สามารถจดจำรูปแบบที่บ่งชี้ถึงอาการป่วยนั้นๆ เช่น การตรวจหาเนื้องอกหรือโรคเนื้อเยื่ออักเสบ ช่วยให้การวินิจฉัยรวดเร็วและแม่นยำขึ้น
ด้านการวิจัยยา : การใช้ AI เพื่อช่วยในการจำลองปฏิกิริยาทางเคมีและชีววิทยาของโมเลกุลยาใหม่ๆ  ทำให้สามารถคาดการณ์ผลกระทบต่อร่างกายและความปลอดภัยของยาได้ก่อนการทดลองทางคลินิก ลดเวลา เพิ่มประสิทธิภาพ อีกทั้งยังช่วยลงความเสี่ยงในการทดลองกับสิ่งมีชีวิตอื่นๆได้อีกด้วย

2.อุตสาหกรรมด้านการเรียนและการศึกษา
ด้านระบบการสอนแบบปรับเปลี่ยนตามบุคคล : การใช้ AI สามารถช่วยให้เราสามารถวิเคราะห์ข้อมูลของนักเรียนแต่ละคน รวมถึงสไตล์การเรียนรู้และประวัติความสามารถ เพื่อสร้างและปรับปรุงเนื้อหาการเรียนรู้ให้ตรงกับความต้องการและความสนใจของพวกเขา จะเป็นส่วนช่วยที่จะดึงประสิทธิภาพของผู้เรียนแต่ละคนมาต่อยอดได้อย่างมีประสิทธิภาพ แม่นยำ รวมถึงเข้าใจตัวผู้เรียนได้อย่างถ่องแท้
ด้านการวิเคราะห์การเรียนรู้ : การใช้ AI เพื่อประกอบและตั้งเกณฑ์ความสามารถและพัฒนาการของผู้เรียน เพื่อค้นหาข้อสังเกตและข้อบกพร่องอย่างแท้จริงของทั้งผู้เรียนและผู้สอนที่จะนำไปปรับเทคนิคการเรียนการสอนในขั้นต่อไป 
3. อุตสาหกรรมด้านการค้าและการผลิต
ด้านการบำรุงรักษาโดยการคาดการณ์ : การใช้ AI เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลเครื่องจักรในโรงงาน เพื่อประเมินระยะเวลาที่ต้องตรวจเช็คคุณภาพเครื่องจักรเพื่อป้องกันข้อผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นเพื่อตั้งกำหนดการบำรุงรักษา เพื่อช่วยลดระยะเวลาการหยุดทำงานของเครื่องจักรและปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต
ด้านการจัดการห่วงโซ่อุปทาน : การใช้ AI เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลจากห่วงโซ่อุปทานหรือประเมิน/คาดการณ์ความต้องการของผู้บริโภคต่อสินค้านั้นๆ เพื่อช่วยในการตัดสินใจเรื่องการจัดการสินค้าคงคลังและการจัดส่งสินค้า โดยทำนายความต้องการและปรับจัดสรรทรัพยากร
การปรับปรุงประสบการณ์ลูกค้า : การใช้ AI เพื่อวิเคราะห์พฤติกรรมการซื้อของลูกค้า เพื่อนำเสนอผลิตภัณฑ์หรือบริการที่มีความเชื่อมโยงและตรงตามความต้องการที่ลูกค้าให้ความสนใจอย่างแม่นยำ
4. อุตสาหกรรมด้านการเงิน
การวิเคราะห์ความเสี่ยง : การใช้ AI ในการวิเคราะห์ข้อมูลทางการเงินขนาดใหญ่ของบริษัท คู่ค้า หรือการลงทุนต่างๆ เพื่อประเมินความเสี่ยงและช่วยในการตัดสินใจเกี่ยวกับการลงทุน ซึ่งนอกจากการประเมินด้วย AI แล้วนั้นทุกการลงทุนมีความเสี่ยง ควรประเมินความเสี่ยงเหล่านั้นด้วยข้อมูลอื่นๆเพิ่มเติมอย่างรอบครอบ

การใช้งาน AI ในอุตสาหกรรมเหล่านี้ไม่เพียงแต่ช่วยให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น แต่ยังส่งผลให้เกิดการตัดสินใจที่ดีขึ้นและบริการที่ปรับปรุงอย่างมีนัยสำคัญต่อผู้บริโภคและผู้ใช้บริการ แต่เหนือสิ่งอื่นใด AI ยังคงเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่ต้องใช้ระยะเวลาและข้อมูลมากมายเพื่อสร้างการเรียนรู้ ดังนั้นการคัดกรองข้อมูลและทำการศึกษาเพิ่มเติมคือสิ่งที่เราควรทำเพิ่มเติมนอกเหนือจากการใช้แค่ AI ซึ่งเราสามารถเริ่มต้นได้ง่ายๆ ด้วยการมอง AI เป็นเรื่องใกล้ตัว เริ่มปรับตัวและเรียนรู้ไปด้วยกันกับโน๊ตบุ๊ค/แล็ปท็อป ที่มีส่วนประกอบของ NPU ซึ่งมีอยู่ทั้งใน AMD Ryzen AI และ Intel Core Ultra นอกจากจะช่วยให้การทำงานกับโปรแกรมที่มี AI แล้ว ยังมีส่วนช่วยลดภาระต่างๆของ CPU และ GPU อีกด้วย ทำให้ประสิทธิภาพของโน๊ตบุ๊ค/แล็ปท็อป นั้นสูงขึ้นอีกด้วย เป็นเจ้าของ AI PC ได้แล้ววันนี้ที่ Advice Online และแอดไวซ์ทุกสาขาใกล้บ้าน

ดังนั้น มอง AI ให้เป็นเรื่องใกล้ตัว พร้อมพลิกโฉมการทำงานและการเรียนรู้ด้วย AI ไปกับ Advice อาทิตย์หน้าจะมีเกร็ดความรู้เกี่ยวกับ AI อย่างไร รอติดตามได้เลย